พอพูดถึงโมฯ เต็ม มันรู้สึกไกลๆ ยังไงชอบกลหรือคุณไม่เป็นล่ะ?
แต่คราวนี้นักซิ่งอย่าง shiotani จะเป็นคนทดสอบให้พวกเรา
AE101 20VALVE Engine Spec.

ตัวเครื่อง AE111, ลูกสูบฟอส (82) , แคม IN&EX 304 องศา (ลิฟ 10.3mm.), แคมสปอกเก็ต (ทั้งหมดที่กล่าวมาข้าวต้นเป็นของ TODA), ประเก็นฝาสูบ 0.8 mm., วาล์วสปริงและรีเทนเนอร์, ชุดคลัช (แผ่นและหวี) ทั้งหมดข้างบนของ TRD, โคโมรี ฟายวีล CUSCO, น้ำมันเครื่อง elf, หัวเทียน Recing No. 8 NGK, สายหัวเทียน, ECU สำหรับเครื่อง AE111 โดย JAM RACING, สี่ลิ้นของ AE101

พูดถึงโมฯ เต็ม มันเป็นยังไงเหรอ??
สวัสดีครับผม shiotani จาก REV SPEED ครับ จากที่ได้ข่าวว่ามีตัวแรงโมฯ เต็มตัว AE101 ซึ่งเค้าก็ให้ผมเอาไปวิ่งที่ tsukuba มาแล้วด้วย โดยตอนแรกเค้าบอกว่าให้เหยียบไปเลยหมืนรอบผมก็ยังกล้าๆ กลัวๆ อยู่ แต่พอได้ลองเหยียบดูแล้วรอบมันลื่นมากจกลืมถอนเลยล่ะ!! แต่ทว่าทำยังไงมันถึงได้เครื่องเจ๋งๆ ขนาดนี้เนี่ยะ??

และตรงนี้เอง "เครื่องโมฯ เต็ม เค้าทำอะไรกับมันบ้าง??" ซึ่งถึงแม้จะได้ดูสเปคแล้วก็เหมือนกับไม่ได้ดูเพราะว่ามันก็เหมือนๆ กับรถคันอื่นๆ แต่เราไปให้ yamasawa ซัง จาก JAM RACING ที่เป็นคนทำตัวแรงนี้สอนกันดีกว่า

"ก่อนอื่น เราต้องให้ความกระจ่างกับเป้าหมายที่เราจะใช้ซะก่อน อันนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก ซึ่งสำหรับเครื่องตัวนี้ใช้สำหรับ RACE เล็กๆ และต้องการหมุนเครื่องให้ถึงหมืนรอบโดยไม่พัง ซึ่งอันนี้เป็นเป้าหมายของเครื่องตัวนี้ แล้วก็เรื่องของชิ้นส่วนที่จะเอามาใช้ก็ต้องเลือกให้ดี แต่ว่าชิ้นส่วนที่เลือกมาแต่ละชิ้นนั้นมีการทำงานที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นเรื่องยากอย่างหนึ่งสำหรับการทำเครื่อง" yamawawa ซังกล่าว

อืมพอเข้าใจแล้ว ก็คือเราก็เอาอุปกรณ์พิเศษมารวมกันแล้วก็ทำการประกอบก็เสร็จใช่เปล่า? ก็เลยแรงอย่างนี้นี่เอง !!
"นี่ ถ้าแค่อ่านคู่มือการใช้แล้วประกอบ ใครๆ เค้าก็ทำได้จริงเปล่า แต่มันง่ายอย่างนั้นซะที่ไหนล่ะ !
อย่างเรื่องแคม คนส่วนใหญ่เลือกแคมด้วยการอิงจากอะไร?? ยิ่งองศายิ่งมากก็จะทำให้มีกำลังมากขึ้นใช่มั๊ย? ถ้าอย่างนั้นแคมที่มีองศาเท่ากันอย่างของ HKS TODA หรือ TOMEI จะเลือกกันยังไงล่ะคราวนี้?? ถึงแม้มันจะมีองศาที่เท่ากันแต่การทำงานของมันไม่เหมือนกันหรอก เพียงแค่ลิฟที่สูงขึ้น 1 มม. ก็ทำให้อัตราเร่งต่างกัน และถึงแม้จะเป็นแคมอันเดียวกัน วาล์วไทมมิ้งต่างกันความรู้สึกก็ต่างกันไปด้วย ดังนั้นเวลาเลือกแคมมาใช้ประสบการณ์และความรู้ มีส่วนสำคัญอย่างมากในการเลือก"

อะไรน้ะ?! แค่เหมือนกันเนี่ยะนะ ?!!
"ยิ่งไปกว่านั้น สำหรับเครื่องคราวนี้ที่ทำให้หมุนได้หมืนรอบนี้ นอกจากชิ้นส่วนต่างที่เอามาเพิ่มแล้ว ต้องมีการแต่งเติมในบางจุดของชิ้นส่วนนั้นๆ ด้วย
แต่ฟังดีๆ นะ การปาดฝาสูบ, เปลี่ยนขนาดห้องเผาไหม้, ควบคุมน้ำหนักตัววาล์วและลูกสูบ นี้ไม่ใช่ Full Tune แต่มันเป็นเพียงแค่เมนูทั่วไปเท่านั้นเอง

อย่างเครื่องตัวนี้ไม่ใช่ประกอบชิ้นส่วนที่มีเขียนอยู่ในสเปคอย่างเดียว แต่ต้องใช้ know how มากมายเข้ามาช่วยทำด้วย โดยตัวเครื่องหลักเลยใช้ของ AE111 แต่ก้านสูบนั้นใช้ของ AE101 ที่มีทั้งความอ้วนและความทนมากกว่า แต่ทว่าชาร์ฟของก้านสูบก็เลือกใช้ของ AE111 ที่ไม่มีรูมาประกอบเข้าไป อย่างอื่นก็เช่นออยล์เจ็ตของลูกสูบก็จัดการอุดมันซะ เพื่อเพิ่มแรงดันน้ำมันเครื่องให้มันมากขึ้นนั่นเอง ซึ่งพอทำอย่างนี้แล้วแรงดันก็จะเพิ่มขึ้นมาอยู่ประมาณ 7.0 บาร์ แล้วก็เอา ECU ที่ทำขึ้นมาพิเศษควบคุมเครื่องอีกที แล้วก็เพื่อให้เข้ากับกล่องก็ได้เปลี่ยนหัวเทียนมาเป็น NGK เบอร์ 8 เข้าไป เพื่อให้สามารถเปลี่ยนการจุดระเบิดให้เร็วขึ้นและปล่อยน้ำมันให้บางลงได้ สำหรับเรื่องแรงม้าตอนนี้อยู่ที่เกิน 200 ps อยู่แล้ว ซึ่งเครื่อง NA นี้จะไม่เหมือนเครื่องเทอร์โบที่แค่ปรับบูตส์เพิ่มอย่างเดียวก็เพิ่มไปกว่าสิบม้าแล้ว ซึ่งเรื่องรายละเอียดต่างๆ เหล่านี่ไม่มีให้เห็นในสเปคเพราะที่สำคัญนั้นเป็นเรื่องของประสบการณ์"

อืมมมมมม ยากเหมือนกันนาาาาา แต่ว่ารู้ได้ไงว่าในจุดที่มองไม่เห็นนั้นต้องปรับแต่งยังไงก็ไม่รู้รู้ เอาไอเดียมาจากไหนเนี่ยะ?? ดังนั้น Full tune (โมฯ เต็ม) ไม่ได้อยู่ที่อะไหล่แพงๆ ดีๆ อย่างเดียว แต่อยู่ที่ประสบการณ์ของช่างแต่ละคนนั่นเอง

ENGINE MENU
ใช้แคมสูงของ TODA ทั้ง IN/EX เป็น 304 องศา และวาล์วสปริงกับรีเทนเนอร์ก็ใช้ของ TRD ที่ถูกลดน้ำหนักมาแล้ว แค่นี้ก็ทำให้สามารถวิ่งในรอบสูงได้อย่างสบาย ความทนก็สูงขึ้น และในเวลาเดียวกันกับตอนประกอบเครื่อง ก็ตั้งวาล์วให้ลูกเบี้ยวห่างกับกระเดืองวาล์ว่น้อยที่สุด เพื่อให้แคมของ TODA ทำงานได้อย่างสมูด และใช้งานได้อย่างเต็มที่มากที่สุด ยิ่งกว่านั้นได้ทำการปรับจังหวะการเปิดปิดวาล์วกันใหม่ โดยปรับให้เน้นกำลังในรอบปลาย
เพียงแค่มองด้วยตา ก็เห็นถึงความสูงของลิฟที่แตกต่าง ซึ่งลิฟนี้เปลี่ยนจาก IN 8.2 > 10.5 และ EX 7.6 > 10.5 และด้านขวาก็เป็นรูปของฝาสูบ ที่เห็นยื่นออกมานี้เป็นที่ใส่หัวทียน เนื่องจากลูกเบี้ยวมีขนาดใหญ่เกินไป ทำให้ติดตรงที่เห็นนี้ ก็เลยเอาค้อนมาทุนให้บุบลงไปเล็กน้อย
ทั้งในพอร์ตและบล๊อคข้อเหวี่ยงก็ถูกขัดจนเงา นอกจากนั้นพอร์ทที่เป็นคลื่นข้างในก็ถูกจัดการขัดจนเรียบ ห้องเผาไหม้ ท่อน้ำมันเครื่องไหลกลับ รูน้ำ ก็ทำใหม่ให้ไหลได้ลื่นขึ้น ยิ่งกว่านั้นก็ทำการเจียรก้านวาล์วออก เพื่อเพิ่มอากาศให้ไหลเข้าได้มากขึ้น
สำหรับด้านฝาสูบเพื่อลดการไหลของน้ำมันเครื่องให้น้อยที่สุด จึงอุดรูที่ออยเจ็ตของลูกสูบไปซะเลย เพื่อให้น้ำมันเครื่องมาวนที่เสื้อสูบได้เยอะขึ้น และถ้าน้ำมันเครื่องมีอุณหภูมิเกิน 180 องศาก็จะทำให้ชาร์ฟที่อยู่ติดกับข้อเหวี่ยงและก้านสูบนั้นละลายได้ ก็เลยต้องทำให้น้ำมันเครื่องมาวนที่เสื้อสูบอย่างนี้เอง และเพื่อลดการเสียดทานให้น้อยลงจึงนำชาร์ฟของ AE111 ที่ไม่มีรูมาใช้
รูน้ำมันที่ข้อเหวี่ยงก็เช่นกันได้ทำการแต่งเพื่อให้น้ำมันไหลได้ดีขึ้นด้วย(รูปขาว)
ใช้ลูกสูบฟรอสของ TODA RACING 82 mm. เพิ่มความจุกระบอกสูบจาก 1587 cc ไปเป็น 1627 cc และดูจากรูปก็คงจะเห็นบริเวณส่วนของหัวลูกสูบที่สูงขึ้นมา เพื่อเพิ่มกำลังอัดให้มากขึ้น ซึ่งเพียงแค่นี้ก็เพิ่มกำลังอัดขึ้นมามากพอสมควร ยิ่งกว่านั้นก็ได้ใช้ประเก็นฝาสูบเหล็ก 0.8 mm. ของ TRD และจากตรงนี้พอนำไปคำนวณด้วยเครื่องคิดเลขด้วยตัวเลขที่เห็นนี้ ก็สามารถรู้ว่าต้องปาดฝาสูบ 0.63 mm. และหลังจากนั้นลองประกอบดูจริงๆ ทดสอบว่าลูกสูบจะไม่ชนกับวาล์วอีกครั้ง ท้ายสุดก็ทำการวัดกำลังอัดโดยเพิ่มจาก 10.5 ของเดิมมาเป็น 12.5 เลยทีเดียว (ขนลุก)

HOME | Modified Car